ลูกไม่พูด พูดช้า พูดภาษาต่างดาว? แก้ไขอย่างไรก่อนจะสายเกินไป

26988 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลูกไม่พูด พูดช้า พูดภาษาต่างดาว? แก้ไขอย่างไรก่อนจะสายเกินไป

     ปัญหาการสื่อสารหรือการที่ลูกพูดไม่ได้ ลูกไม่พูด พูดช้า พูดไม่เป็นคำ เป็นปัญหายอดฮิตและสร้างความกังวลให้กับผู้ปกครองมากในปัจจุบัน แต่จะรู้มั้ยว่าการที่เด็กจะพูดออกมาเป็นคำๆ ได้นั้นจะต้องใช้ทักษะพื้นฐานอะไรบ้าง และสาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า ลูกไม่พูด หรือลูกพูดไม่เป็นคำมีอะไรบ้าง

พัฒนาการ ทางการสื่อสารที่เป็นไปตามวัย

1 ขวบ พูดคำที่มีความหมายได้ 1 คำที่มีความหมาย หม่ำ พ่อ แม่ ชื่อบุคคลใกล้ชิดหรือสัตว์ ชี้ไปที่วัตถุและบอกชื่อได้ เช่น รถ นม ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ 1 ขั้นตอน นั่ง ยืน นอน เก็บ

2 ขวบ พูดคำที่มีความหมาย 2 คำที่มีความหมายต่อเนื่อง เช่น หิวข้าว ง่วงนอน ไม่เอา ไม่ไปและมีคลังคำศัพท์ไม่น้อยกว่า 50 คำ

3 ขวบ พูดประโยคที่มีประธานและกิริยาได้ เช่น แม่หิวขนม หนูปวดฉี่ ไปเที่ยวกัน หรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายมากกว่าครึ่งหนึ่งคือ 50% ขึ้นไป มีคลังคำศัพท์อย่างน้อย 1000 คำ


สาเหตุของการที่ลูกไม่พูด ลูกพูดไม่ได้ ลูกพูดไม่เป็นคำ หรือลูกพูดช้า

1. ปัญหาพัฒนาการล้าช้าทางภาษา
2. สติปัญญาบกพร่อง
3. มีปัญหาทางการได้ยิน 
4. กลุ่มอาการออทิสซึม
5. ความผิดปกติของเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆในการพูด (Apraxia of speech) ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เด็กสามารถทานอาหารได้อย่างปกติ แต่เมื่อให้พูด จะไม่สามารถพูดตามได้ในทันที มักจะหลุดพูดออกมาเอง
6. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ให้ดูโทรทัศน์ I-PAD เป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ ขาดการกระตุ้น ไม่ค่อยเล่นกับลูก พูดกับลูกน้อย


ทักษะพื้นฐานอะไรบ้างที่จำเป็นต่อการพูด





     จากแผนภาพสามเหลี่ยมแห่งการเรียนรู้ อยากให้เริ่มดูที่ฐานด้านล่าง  ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ คือระบบการรับความรู้สึกทั้ง 7 ด้าน ถ้าฐานไม่ถูกเติมเต็มจนสมบูรณ์แน่นหนาพอ ทักษะในขั้นต่อๆไปก็จะพัฒนาได้ไม่เต็มที่ 
     จะเห็นได้ว่าทักษะทางภาษาหรือการพูดจะอยู่ในลำดับขั้นที่ 3 เพราะฉะนั้นในขั้นที่ 1 และ 2 ต้องพร้อมและถูกเติมเต็มมาอย่างพอดี


นักวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะทางภาษาและการสื่อสารที่จะมาแก้ปัญหาลูกไม่พูด ลูกพูดช้า หรือลูกพูดไม่เป็นคำ

- นักกิจกรรมบำบัด

- นักแก้ไขการพูดหรือครูฝึกพูด

- นักจิตวิทยาพัฒนาการ

- นักฝึกพูดผ่านทักษะการฟัง ครู AVT (สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน)

     ซึ่งในการฝึกผู้ปกครองมักจะชอบถามกันว่าใช้เวลาฝึกนานมั้ยคะ กว่าลูกจะพูดได้บอกเลยค่ะว่าแต่ละคนใช้ระยะเวลาในการฝึกแตกต่างกันค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปกครองครองสังเกตเห็นความผิดปกติทางการสื่อสารได้เร็วแค่ไหน เมื่อฝึกแล้วเอาวิธีการคำแนะนำจากคุณครูไปฝึกต่อที่บ้านได้สม่ำเสมอหรือไม่ ร่วมกันปรับวิธีการเลี้ยงดูใหม่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกๆ ฝ่ายเลยค่ะ


วิธีการฝึกลูกพูดแบบง่ายๆ ที่ผู้ปกครองสามารถทำได้ที่บ้าน

1. งดหรือปรับลดเวลาดูโทรทัศน์ I-PAD ให้น้อยลง
2. หันมาคุยสื่อสารกับลูกให้มากขึ้น ผ่านสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน ผ่านการเล่น การเล่านิทานเล่นเสียงเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
3. เน้นมองตากันขณะพูดคุย 
4. พูดทีละคนไม่แย่งกันพูดกับลูก 
5. ไม่คิดแทนลูก รอให้เวลากับลูกในการสื่อสารแม้จะช้า
6. ใช้คำพูดที่ง่าย ฟังชัดเจน
7. แก้ไขประโยคที่ลูกพูดผิด อย่างนุ่มนวลในทันที เช่น พ่อเที่ยวไปกัน พ่อไปเที่ยวกัน

     หากคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองมีความสงสัยว่า ลูก บุตรหลานของท่านมีอาการ เหล่านี้ เช่น ซน อยู่ไม่นิ่ง ลูกไม่พูด พูดไม่เป็นคำ ไม่สบตา เล่นไม่เป็น ชอบแกล้งเพื่อน เรียนหนังสือช้า เรียนหนังสือไม่ได้ ไม่มีสมาธิ เข้าข่าย ออทิสติก ออทิสติกเทียม ไฮเปอร์ สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ หรือไม่

       สามารถสอบถามข้อมูล ค่าบริการคอร์สกระตุ้นพัฒนาการที่บ้าน กิจกรรมบำบัด ฝึกพูด ปรับพฤติกรรม โดยนักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาพัฒนาการ ครูการศึกษาพิเศษจาก Growing Smart หรือรับคำปรึกษาแนะนำผ่านทางโทรศัพท์ 083-806-1418 และทาง เพิ่มเพื่อน และผู้ปกครองสามารถทำการนัดประเมินภาวะทางพัฒนาการถึงที่บ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะเราเชื่อว่าเด็กๆ ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพหากได้รับการฝึกจากนักบำบัดผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึงได้รับคำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงและถูกต้องเหมาะสมเพราะเราเชื่อว่าเด็กๆทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพหากได้รับการฝึกจากนักบำบัดผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึงได้รับคำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงและถูกต้องเหมาะสม
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้