โรคสมาธิสั้นในเด็ก อาการ สาเหตุ และการรักษา

5102 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคสมาธิสั้นในเด็ก อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคสมาธิสั้น (ADHD) คืออะไร อาการที่พบ และวิธีการรักษา

     โรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) เป็นหนึ่งในความผิดปกติของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก โรคสมาธิสั้นในเด็ก มักจะตรวจพบหรือได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกในวัยเด็กตั้งแต่อายุประมาณ 5-6 ขวบ หรือในเด็กๆ บางกลุ่มที่มีอาการของโรครุนแรง อาจตรวจพบได้ตั้งแต่ 2-3 ขวบ และมักจะมีอาการของโรคไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เด็กสมาธิสั้น จะมีปัญหาในการให้ความสนใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่มีสมาธิกับการทำกิจกรรม ไม่นิ่ง ซน มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น (ทำโดยไม่ได้คิดว่าผลจะเป็นอย่างไร) กระตือรือร้นกับสิ่งต่างๆ มากเกินไป รอคอยไม่ได้

     การวินิจฉัยโรคตามเกณฑ์ DSM 5 (คู่มือการการวินิจฉัยอาการผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5) สำหรับ โรคสมาธิสั้นในเด็ก หากมีอาการที่ไม่ตั้งใจ 6 อย่างขึ้นไป สำหรับผู้ป่วยเด็กอายุไม่เกิน 16 ปี และมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันนาน 6 เดือน อาจมีความเสี่ยงของโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้นในเด็ก แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่

ความไม่ตั้งใจ (Inattention)

1. เด็กๆ มักจะไม่ใส่ใจในรายละเอียดในการทำงานต่างๆ ทั้งก่อนทำ และขณะกำลังทำ มักจะทำผิดพลาดบ่อยๆ งานไม่เสร็จสมบูรณ์

2. มีปัญหาในการให้ความสำคัญกับการทำงาน และกิจกรรมต่างๆ

3. ไม่ค่อยฟัง ไม่ให้ความสนใจกับพ่อแม่ ครูที่โรงเรียน เรียกไม่หัน ไม่มองหน้าสบตาระหว่างพูดคุย

4. ไม่ทำตามคำสั่ง พูดเพื่อหลีกเลี่ยงการทำการบ้าน งานบ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้น เสียสมาธิระหว่างทำ

5. มีปัญหาในการจัดการลำดับงาน ความสำคัญในกิจกรรมต่างๆ

6. หลีกเลี่ยงหรือไม่ชอบการทำงาน การบ้าน ที่ต้องใช้สมาธิเป็นระยะเวลานาน

7. ทำของหายเป็นประจำ เช่น อุปกรณ์การเรียน ดินสอ หนังสือ

8. วอกแวก เสียสมาธิได้ง่ายจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เช่น แสง สี เสียง 

9. ขี้ลืม ลืมง่าย เช่น ลืมจุดวางของ ว่าวางไว้ตรงไหน

 

สมาธิสั้นและหุนหันพลันแล่น (Hyperactivity and Impulsivity)

1. เด็กๆ จะมีอาการอยู่ไม่นิ่ง ขยับมือหรือเท้าอยู่ตลอดเวลาขณะนั่งอยู่เฉยๆ หรือไม่ได้ทำกิจกรรมอย่างอื่น 

2. ลุกออกจากที่นั่ง เดินออกจากห้องเรียน ไปรื้อของ ไม่ฟังคำสั่งครู หรือทำกิจกรรมตามเพื่อนๆ

3. ชอบวิ่ง ปีนป่าย ไม่ระมัดระวังตัวเอง มีอาการกระสับกระส่าย

4. ไม่สามารถเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างเงียบๆ ได้ ชอบทำเสียงดัง เล่นแรง ออกแรงเยอะ

5. ชอบเดินไปมา เดินวน หรือต้องมีทำกิจกรรมอยู่ตลอด นั่งเฉยๆ ทำงานไม่ได้

6. พูดเกินจริง แต่งเติมเรื่องตามจินตนาการ อาจมีการชอบพูดโกหก

7. ชอบพูดสวนขณะกำลังคุยกับผู้อื่น ก่อนที่คนอื่นจะพูดจบ

8. ไม่สามารถอดทน รอคอย การเล่นตามกติกาแบบสลับฝั่งเล่น การต่อคิว

9. ขัดจังหวะการเล่น ขัดจังหวะการร่วมสนทนา ก้าวก่ายผู้อื่น

มีอาการร่วมระหว่าง ความไม่ตั้งใจ (Inattention) กับสมาธิสั้นและหุนหันพลันแล่น (Hyperactivity and Impulsivity)

สาเหตุของโรคสมาธิสั้นในเด็ก

     ปัจจุบันสาเหตุของโรคสมาธิสั้นในเด็ก ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดทางการแพทย์ แต่จากการวิจัยในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า โรคสมาธิสั้นในเด็ก อาจเกิดจากพันธุกรรม หรือกรรมพันธุ์จากพ่อ แม่ และครอบครัวเป็นส่วนสำคัญอย่างมากทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น และมีตัวแปรอื่นๆ ที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยง

- อาการบาดเจ็บ หรือผิดปกติของสมอง

- การใช้แอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ ระหว่างตั้งครรภ์

- คลอดก่อนกำหนด

- น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์

สัญญาณผิดปกติที่ผู้ปกครองควรเฝ้าระวังโรคสมาธิสั้นในเด็ก

     ถึงแม้ว่าพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก การอยู่ไม่นิ่ง ซน ไม่มีสมาธิจดจ่อ อาจเป็นเรื่องปกติในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่บ้านหรือที่โรงเรียนบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะดูมีอาการค่อนข้างรุนแรงกว่าปกติทั่วไป ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหาที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือกับเพื่อนทำให้ผู้ปกครองอาจถูกเรียกไปรับฟังปัญหา หรือตักเตือนเรื่องพฤติกรรมในชั้นเรียนเป็นประจำ

อาการของเด็กที่อาจมีภาวะของโรคสมาธิสั้น

- มีอาการเหม่อลอย อยู่กับความคิดตัวเอง

- ชอบลืม หรือทำสิ่งของหายบ่อยๆ

- ไม่นิ่ง เดินไปเดินมาตลอดเวลา เดินวน ลุกออกจากที่นั่ง ออกนอกห้องขณะเรียน

- พูด หรือตั้งคำถามเยอะเกินไปกับทุกสิ่งรอบตัว พูดเกินจริง

- งานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายทำได้ไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่คิดไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนทำ หรือระหว่างทำงาน ลืมขั้นตอน

- ไม่ชอบทำการบ้าน พูดเลี่ยง พยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้สมาธิ

- ตอบสนองกับสิ่งเร้าต่างๆ อย่างรวดเร็วเกินพอดี ทั้งทางสายตา ทางการได้ยิน ทำให้เสียสมาธิได้ง่ายในชั้นเรียน

- มีปัญหาในการรอคอย การเล่นที่ต้องใช้การผลัดกันเล่น ผลัดกันทำ ตามกติกา

- ปรับตัวเข้ากับเพื่อนในวัยเดียวกันได้ยาก ไม่มีค่อยมีเพื่อนสนิท

 

แนวทางการรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก

     โรคสมาธิสั้นในเด็ก (ADHD) สามารถบรรเทาอาการ หรือทำให้อาการของตัวโรคที่เป็นปัญหากับชีวิตประจำวันน้อยลงได้ โดยการใช้ยาและการเข้ารับบำบัดรักษา แต่การใช้การรักษาคู่กันทั้งสองรูปแบบ จะได้ผลที่ดีที่สุด
     การบำบำบัดรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็ก สามารถเริ่มต้นได้โดยการพาเด็กๆ เข้ารับการตรวจประเมินวินิจฉัยโรคโดยแพทย์เฉพาะทาง เช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น อาจมีการรักษาโดยใช้ยา (ต้องได้รับการวินิจฉัยและจ่ายยาจากแพทย์เท่านั้น) ควบคู่กับการพบนักกิจกรรมบำบัด อย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกบำบัดให้อาการของโรคสมาธิสั้นดีขึ้นตามลำดับ จนอาการของโรคสมาธิสั้น ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเด็กๆ น้อยลง

   หากคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองมีพบว่า ลูก บุตรหลานของท่านมีอาการเหล่านี้ เช่น พูดช้า ไม่พูด พูดไม่เป็นคำ ไม่มองหน้าสบตา ซน อยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย เล่นไม่เป็น ไม่มีสมาธิในการเรียน เรียนหนังสือช้า หรือเข้าข่ายออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม สมาธิสั้น พัฒนาการล่าช้าหรือไม่

     สามารถสอบถามข้อมูลหรือรับคำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นผ่านทางโทรศัพท์ 083-806-1418 และทาง เพิ่มเพื่อน ประเมินพัฒนาการถึงที่บ้านโดยหัวหน้าทีมนักกิจกรรมบำบัดของเรา และเรายังให้บริการคอร์สกระตุ้นพัฒนาการถึงที่บ้านแบบตัวต่อตัวทั้งรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คอร์สฝึกบำบัดออนไลน์สำหรับผู้ปกครอง กิจกรรมบำบัด ฝึกพูด ปรับพฤติกรรม โดยนักวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาพัฒนาการ ครูการศึกษาพิเศษ รู้เร็ว เริ่มรักษาเร็ว พัฒนาการมีโอกาสกลับมาใกล้เคียงปกติ เพราะเราเชื่อว่าเด็กๆ ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพหากได้รับการฝึกจากนักบำบัดผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึงได้รับคำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงและถูกต้องเหมาะสม

 

อ้างอิง

www.cdc.gov (CDC - ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา)
www.nhs.uk (บริการสุขภาพแห่งชาติ สหราชอาณาจักร)
www.medicalnewstoday.com Medically reviewed by Karin Gepp, PsyD 
American Psychiatric Association: Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, 5th edition. Arlington, VA., American Psychiatric Association, 2013.

 

              

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้