15517 จำนวนผู้เข้าชม |
ลูกกระโดดตลอดเวลาเลย ทำอย่างไรดี?
พฤติกรรมการกระโดดของเด็กที่มีบ่อยมากจนเกินไปนอกจากจะไม่ส่งผลดีต่อเด็กแล้ว ยังก่อให้เกิดความหงุดหงิด รำคาญหรือรวกวนบุคคลรอบข้าง
ก่อนอื่นเลยต้องสังเกตและตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ว่า
1.พฤติกรรมการกระโดดบ่อยๆนี้เกิดกับทุกสถานที่ ทุกสถานการณ์ ทุกช่วงเวลาเลยหรือไม่ เช่น
- กระโดดเมื่อรู้สึกตื่นเต้นหรือดีใจมากๆ
- กระโดดเฉพาะเมื่อว่างไม่มีอะไรทำ
- กระโดดเพื่อต้องการให้คนสนใจ
- กระโดดตลอดเวลาแม้ขณะทำกิจกรรมหรือทำกิจวัตรประจำวัน
การที่เราต้องสังเกตพฤติกรรมโดยละเอียดนั้น จะทำให้เราสามารถรับรู้ได้ว่าสาเหตุของการกระโดดนี้มาจากอะไรและเราควรจะปฏิบัติต่อตัวเด็กอย่างไร
2. เมื่อเกิดพฤติกรรมการกระโดดในขณะนั้นเราทำอย่างไรกับเด็กบ้าง
- ดุแล้วบอกให้หยุดกระโดด
- เดินไปจับตัวและบอกให้หยุดกระโดด
- บอกให้หยุดและพาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น
- เพิกเฉย ไม่สนใจ
การตอบสนองของเราในขณะเกิดเหตุการณ์นั้นจะเป็นตัวที่บ่งบอกได้ว่าเรากำลังพยายามหยุดพฤติกรรมนี้จริงๆหรือกำลังให้แรงเสริมเด็กให้เกิดพฤติกรรมกระโดดมากขึ้น สิ่งที่ควรจะปฏิบัติคือการเดินไปจับตัวเด็กด้วยแรงที่มั่นคงไม่ให้เด็กสะบัดแขนออก ได้ ไม่บีบแรงจนเกินไป จากนั้นบอกด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นและสีหน้าที่จริงจังว่า “หยุด” หลังจากนั้นพาเด็กไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ควรใช้คำสั่งที่ง่าย สั้น และแปลความหมายได้ชัดเจน
3. ปัญหาการกระโดดเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
- เกิดจากภาวะบกพร่องของการบูรณาการประสาทความรู้สึก Sensory Integrative Dysfunction
- เกิดจากพฤติกรรมของตัวเด็กเอง เช่น ทำเพื่ออยากให้ผู้ปกครองสนใจ
ชอบกระโดดจากที่สูง (เด็กสมาธิสั้น)หรือต้องการบางสิ่งบางอย่าง (มักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่ยังไม่มีภาษา เช่น ออทิสติก, พัฒนาการล่าช้าทางภาษา) ควรได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์และนักกิจกรรมบำบัดโดยละเอียด
4. กิจกรรมที่ช่วยลดการกระโดดของเด็กๆในแต่ละวันและสามารถทำได้ที่บ้าน
-กิจกรรมสลายพลังงานใช้แรงออกแรงเยอะๆ งานบ้านทั่วไปง่ายๆเลยค่ะ เช่น ช่วยยกของจัดห้อง เอาขยะไปทิ้ง ยกตะกร้าผ้า ช่วยกันบิดผ้า ตากผ้า ถูพื้น เช็ดโต๊ะ
-เล่นกีฬา บาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน ว่ายน้ำ
-พาไปเล่นสนามเด็กเล่น เล่นกับเพื่อนในวัยเดียวกันแถวบ้าน
-ใส่ Weight cuff ที่บริเวณข้อเท้า เมื่อสังเกตเห็นได้ว่าเด็กเริ่มกระโดดมากขึ้น
-กิจกรรมกระโดดบนแทรมโพลีนสามารถให้เด็กเล่นได้ค่ะ
ในกรณีที่เราไม่มีเวลามากพอที่จะเล่นกับเด็ก เช่น กำหนดให้กระโดด 100 ครั้ง/เซต หรือกระโดดไปร้องเพลงไป,ท่อง ก-ฮ,ท่องสูตรคูณ เป็นต้น ทางที่ดีควรมีกิจกรรมระหว่างการกระโดดเล่นบนแทรมโพลีนด้วย เช่น โยนรับ-ส่งบอลระหว่างคุณแม่กับเด็ก โยนของใส่ตะกร้าในทิศทางต่างๆ กระโดดตบ กระโดดทำท่าทางตามตัวแบบ เพื่อให้น้องได้รับรู้ว่าเรากำลังเล่นอยู่กับเขานะ เด็กจะรู้สึกสนุกไปด้วยเป็นกิจกรรมระหว่างแม่กับลูก ไม่ใช่ให้เด็กกระโดดเฉยๆโดยไม่มีจุดหมาย
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆคนนะคะ
หากคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองมีความสงสัยว่า ลูก บุตรหลานของท่านมีอาการ เหล่านี้ เช่น ซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่พูด พูดไม่เป็นคำ ไม่สบตา เล่นไม่เป็น ชอบแกล้งเพื่อน เรียนหนังสือช้า เรียนหนังสือไม่ได้ ไม่มีสมาธิ เข้าข่าย ออทิสติก ออทิสติกเทียม ไฮเปอร์ สมาธิสั้น เรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ หรือไม่
สามารถสอบถามข้อมูลหรือรับคำปรึกษาแนะนำจากนักกิจกรรมบำบัดได้ผ่านทางโทรศัพท์ 083-806-1418 และทาง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพราะเราเชื่อว่าเด็กๆทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพหากได้รับการฝึกจากนักบำบัดผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน รวมถึงได้รับคำแนะนำอย่างเฉพาะเจาะจงและถูกต้องเหมาะสม